‘อินฟอร์มาฯ’ โชว์ศักยภาพธุรกิจ หนุนเศรษฐกิจไทย ดันอุตสาหกรรมไทยเติบโตไกลระดับโลกในงาน ‘พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023’ - BIZTHAI POST

BIZTHAI POST

The Thai Biz Website

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Friday, February 24, 2023

‘อินฟอร์มาฯ’ โชว์ศักยภาพธุรกิจ หนุนเศรษฐกิจไทย ดันอุตสาหกรรมไทยเติบโตไกลระดับโลกในงาน ‘พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023’

‘อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย’ โชว์ศักยภาพธุรกิจไทยใน “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023: Plastic & Rubber Thailand 2023” งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และวัตถุดิบ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกและยาง แบบครบวงจรในประเทศไทย ร่วมผนึกกำลังพร้อมกับงานอินเตอร์แมค และ ซับคอน ไทยแลนด์ 2023 ระดมผู้เชี่ยวชาญ นักธุรกิจ และกลุ่มพันธมิตร จากทั่วโลกกว่า 45,000 คน ผลักดันธุรกิจไทยแข็งแกร่ง เติบโตสู่โอกาสที่ใหญ่กว่าในตลาดโลก งานจัดขึ้นวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้นำด้านการจัดงานแสดงสินค้าอันดับหนึ่งของโลก จัดงานแสดงสินค้าที่มีชื่อเสียงมากกว่า 450 งาน ใน 30 ประเทศและนำพาผู้ซื้อและผู้ขาย กว่า 15 อุตสาหกรรมทั่วโลกได้มาพบปะเจรจาธุรกิจ ประกาศจัดงาน “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023: Plastic & Rubber Thailand 2023” ภายใต้แนวคิดการพัฒนาสู่ความยั่งยืน อีกทั้งยังสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน และลดมลพิษในกระบวนการผลิต เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดเผยถึงภาพรวม และเป้าหมายของการจัดงานในครั้งนี้ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตพลาสติกและอุตสาหกรรมยางที่สำคัญของโลก ในส่วนของผู้ประกอบการในไทยก็มีความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการจัดงานในครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญของงานแสดงเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตพลาสติกและยางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน ที่รวบรวมความพิเศษในหลายด้านรวมไว้ในงานเดียว

ความพิเศษของงานนี้อยู่ที่การรวบรวมผู้แสดงสินค้า เทคโนโลยีชั้นนำ และแนวทางการเพิ่มศักยภาพในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกและยาง อาทิเช่น เทคโนโลยี เครื่องจักร เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ การออกแบบแม่พิมพ์ และชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ พร้อมแนะแนวทางแก้ไขปัญหาในการผลิตไว้ครบในงานเดียว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าชมงานในการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยจากผู้ผลิตโดยตรง อาทิเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ บรรจุภัณฑ์ การก่อสร้าง อุปกรณ์ทางการเกษตร และอีกมากมาย

อีกหนึ่งความน่าสนใจของงานนี้อยู่ที่ โอกาสในการจับคู่ธุรกิจพร้อมกับการอัพเดทความรู้ เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจทั้งปัจจุบันและในอนาคต อาทิเช่น การผลิตด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจก การเพิ่มศักยภาพทางการผลิตเพื่อตอบรับนโยบาย บีซีจี โมเดล สิ่งนี้นับเป็นความท้าทายครั้งใหม่ที่นักอุตสาหกรรมจะต้องเผชิญและต้องปรับตัวเพื่อเข้าสู่การผลิตแห่งความยั่งยืน

“จากจุดเด่นของงานที่ ระดมผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีที่ทันสมัยในแวดวงอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง และความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม ร่วมสนับสนุนการจัดงาน พลาสติกแอนด์รับเบอร์ไทยแลนด์ 2023 ในวันที่ 10-13 พฤษภาคมนี้ที่ไบเทค ซึ่งนอกจากส่วนจัดแสดงเทคโนโลยีการผลิตแล้วนั้น ภายในงานยังมีสัมมนาในหัวข้อต่างๆ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทการปฏิบัติตนตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ครบจบภายในงานนี้ และยังสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดธุรกิจต่อๆไปในอนาคตได้” นายสรรชาย กล่าว


นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการ สถาบันพลาสติก กล่าวถึง อุตสาหกรรมพลาสติกยังคงเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมปลายทาง อาทิเช่น บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้าง อุปกรณ์ทางการแพทย์ และอีกมากมาย ด้วยแนวคิด บีซีจี โมเดล ส่งผลต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติก ต้องมีการปรับตัว ศึกษาแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ความยั่งยืน การลดการปล่อยคาร์บอนหรือภาวะเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุทางเลือกอาทิเช่น พลาสติกชีวภาพ หรือ พลาสติกรีไซเคิล แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการจัดการขยะต้นทาง เพื่อให้ได้ขยะพลาสติกที่มีคุณภาพนั้น ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันผลักดันอย่างจริงจัง ซึ่งผลลัพธ์จะช่วยเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดโลก และยกระดับขีดความสามารถของประเทศไทยสำหรับในอนาคตอันใกล้ที่จะต้องคำนึงถึงมาตรการเรื่อง Net Zero ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้เข้าชมงานสามารถมาอัพเดทความรู้และดูเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปได้ในงาน พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023
นายวิบูลย์ พึงประเสริฐ นายกสมาคมพลาสติกชีวภาพไทย กล่าวถึง แนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) นั้นเกี่ยวพันกับเป้าหมายที่จะนำพาประเทศไทยเป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายพลาสติกชีวภาพในภูมิภาคอาเซียน โดยปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพสลายตัวได้จากพืชใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ทางสมาคมฯ นั้นให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายทางทั้งจากผู้ผลิตน้ำตาลไปยังผู้ผลิตเม็ดและผู้ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าการเกษตรของไทย ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยในเรื่องสิ่งแวดล้อมและลด Carbon footprint ของสินค้าลง อีกทั้งยังช่วยในการบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทางสมาคมฯ ได้เล็งเห็นถึงการนำพาประเทศไทยมุ่งสู่อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ร่วมกับทาง อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ในการจัดงาน พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023
ด้าน นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทฯ และกลุ่มพันธมิตร ให้ความสำคัญในการนำเอานวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพระบบการผลิต รวมถึงเพื่อร่วมเร่งผลักดันการลดคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลาสติกและยางที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการทางภาษีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน และเพิ่มศักยภาพสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระดับสากล ดังนั้น ทางบริษัทฯ และกลุ่มพันธมิตรจึงตัดสินใจเข้าร่วม งานพลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023 เพราะคิดว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพการผลิต โดยใช้โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนมาขับเคลื่อน รวมทั้งองค์ความรู้อื่นๆ ที่ได้จากการร่วมงานในครั้งนี้

งาน “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ไทยแลนด์ 2023 : Plastic & Rubber Thailand 2023” จัดขึ้นในวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2566 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยจะจัดร่วมกับงานอินเตอร์แมค งานแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีและเครื่องจักรเพื่อการผลิต และงานซับคอน ไทยแลนด์ ซึ่งรวบรวมผู้รับช่วงการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
 
ลงทะเบียนเข้าร่วมแสดงสินค้า หรือ เข้าชมงาน ได้ที่ www.plasticrubberthailand.com




No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad





Pages