สสส. สานพลังภาคี จัดประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกาย “TPAC 2022” ครั้งแรกในไทย - BIZTHAI POST

BIZTHAI POST

The Thai Biz Website

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, January 30, 2023

สสส. สานพลังภาคี จัดประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกาย “TPAC 2022” ครั้งแรกในไทย

สสส. สานพลังภาคี จัดประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกาย “TPAC 2022” ครั้งแรกในไทย ชู ยุทธศาสตร์ 3 Actives เพิ่มพฤติกรรมกระฉับกระเฉง-สร้างสภาพแวดล้อม-ปรับเปลี่ยนค่านิยม เดินหน้าฟื้นฟูกิจกรรมทางกายต่อเนื่อง ลดเสี่ยงโรค NCDs

เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2566 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษากรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ก้าวสู่ปีที่ 22 มุ่งจุดประกาย กระตุ้น สาน เสริมพลังทุกภาคส่วนในสังคมไทยไปสู่สุขภาวะดีครบ 4 มิติ กาย จิต ปัญญา และสังคม สสส. สานพลัง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม วิชาการ ชุมชนท้องถิ่น จัดงานประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย 2565 “Thailand Physical Activity Conference 2022 หรือ TPAC 2022 ครั้งที่ 1 บูรณาการความรู้เพื่อฟื้นฟูกิจกรรมทางกาย “Integrating knowledge for physical activity regeneration” ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ 7 ด้าน 1.กิจกรรมทางกาย 2.อาหาร 3.ยาสูบ 4.แอลกอฮอล์และยาเสพติด 5.ความปลอดภัยทางถนน 6.สุขภาพจิต 7.มลพิษจากสิ่งแวดล้อม โดยเน้นความเท่าเทียมทางสุขภาพ
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่จำเป็นต่อการมีวิถีชีวิตที่นำไปสู่สุขภาพดี (Healthy Lifestyle) มี 4 สิ่งสำคัญ 1.ความรู้ 2.ทักษะ 3.สุขภาพ 4.คุณธรรมจริยธรรม เริ่มต้นจากการรู้ตัวเอง สำรวจน้ำหนัก ติดตามค่า BMI หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพ รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ เน้นวิตามินและเกลือแร่เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ (รวมน้ำที่ได้จากอาหาร) ผู้ชาย 3.7 ลิตร/วัน ผู้หญิง 2.7 ลิตร/วัน รวมถึงการหลับอย่างมีคุณภาพ ที่สำคัญคือการมีกิจกรรมทางกายสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา อาจใช้นวัตกรรมติดตามความเคลื่อนไหว ทั้งการนอน อัตราชีพ เพื่อเตือนและบันทึกข้อมูลที่คอยแจ้งเตือนลดพฤติกรรมเสียงต่อสุขภาพ และหาวิธีจัดการกับอารมณ์ ความเครียด เพื่อนำสู่การมีวิถีชีวิตสุขภาวะ




ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า ข้อมูลจากทีแพคพบว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการมีกิจกรรมทางกายลดลงจาก 74.6% ในปี 2562 เหลือเพียง 55.5% ในปี 2563 สสส. สานพลังภาคี ส่งเสริมกิจกรรมทางกายบนวิถีใหม่ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 Actives 1.Active People ส่งเสริมให้คนกระฉับกระเฉง 2.Active Environment ส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย 3.Active Society สร้างค่านิยมให้สังคมกระฉับกระเฉง ผ่านการพัฒนานวัตกรรม องค์ความรู้ งานวิชาการด้านกิจกรรมทางกาย ส่งผลให้การมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ เพิ่มขึ้นเป็น 62% ในปี 2565 นำไปสู่แนวโน้มการฟื้นฟูกิจกรรมทางกายให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติและสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
ศ.ดร.ฟีโอนา บูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ไทย เป็น 1 ในผู้นำด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีความสอดคล้องกับการทำงานในระดับสากล ตามข้อแนะนำของ WHO ซึ่งช่วยให้การขับเคลื่อนงานทั้งด้านนโยบายและวิชาการ มุ่งสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายชาติ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมในด้านการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิผลนพ.อุดม อัศวุตมางกุร ผู้อำนวยการกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย สธ. กล่าวว่า สธ. เป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลสุขภาพของประชาชน มีเป้าหมายพัฒนาคนในทุกมิติและทุกช่วงวัยให้ดี เก่ง มีคุณภาพ โดยเริ่มจากการมีสุขภาพดี จากข้อมูลภาระโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ปี 2565 พบว่า กลุ่มวัยทำงาน 30-69 ปี เป็นโรค NCDs ถึง 24.7% เสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ที่สำคัญภาครัฐต้องรับภาระค่ารักษาถึง 1.39 แสนล้านบาท/ปี การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เป็น 1 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีสุขภาวะดี ลดเสี่ยงโรค

สธ. ร่วมขับเคลื่อนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับระดับสากลตั้งแต่ปี 2553 ในปี 2561 ผลักดันแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573 แผนระดับชาติ ที่มียุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานหลัก รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยและวิชาการ เป็น 1 ยุทธศาสตร์ที่สะท้อนความก้าวหน้าของไทย

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad





Pages