2 ทศวรรษกรมการศาสนา
เดินหน้าพลิกโฉมเพิ่มภารกิจใหม่ 2 กลุ่มภารกิจศูนย์ปฏิบัติการด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม- สถาบันศาสนศึกษาสร้างความเข้มแข็งให้งานด้านศาสนา - ต่อยอดภารกิจมุ่งสร้างคนดี-มีคุณธรรม
นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา (อศน.) เปิดเผยว่า ในปี 2566 กรมการศาสนา (ศน.) “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 20 หรือ 2 ทศวรรษ” ศน.จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย “9 ดี 12 เดือน 12 เด่นนำธรรมะสู่ใจประชาชน” โดยผลักดันให้วัดและศาสนสถานทุกศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ตลอดจนพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในทุกช่วงวัย ที่สำคัญนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในกิจกรรมทางศาสนา เพื่อเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง และคนมีความสุข นอกจากนี้ในปีนี้ ศน. ยังคงเร่งดำเนินขับเคลื่อนภารกิจด้านการทำนุบำรุง ส่งเสริม และให้การคุ้มครองกิจการด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ ที่ทางราชการรับรอง ตลอดจนส่งเสริม พัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้คนไทยนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม งานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมถือเป็นภารกิจสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศชาติ
โดยการดำเนินงานในปี 2566 ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานเป็น “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” จากกลุ่มภารกิจเดิม 8 กลุ่มภารกิจ เป็น 10 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ กลุ่มภารกิจที่ 1 งานศาสนพิธี กลุ่มภารกิจที่ 2 งานศาสนิกสัมพันธ์ กลุ่มภารกิจที่ 3 งานอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการด้านศาสนา และงานศาสนสงเคราะห์ กลุ่มภารกิจที่ 4 งานวิชาการด้านศาสนา กลุ่มภารกิจที่ 5 งานด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กลุ่มภารกิจที่ 6 งานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กลุ่มภารกิจที่ 7 กองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา และกลุ่มภารกิจที่ 8 งานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
นายชัยพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ มีการกำหนดกลุ่มภารกิจใหม่ของ ศน.เพิ่มขึ้น 2 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ กลุ่มภารกิจที่ 9 ศูนย์ปฏิบัติการด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ทำหน้าที่ต่างๆ อาทิ การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำหลักสูตรพื้นฐาน ดำเนินการออกแบบและจัดทำเครื่องมือในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม วัดและประเมินผลคุณธรรมจริยธรรม พัฒนารูปแบบและนวัตกรรมการเผยแพร่คุณธรรมจริยธรรม พัฒนาแพลตฟอร์มบริการด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม (Service Platform) และกลุ่มภารกิจที่ 10 สถาบันศาสนศึกษา มีอำนาจหน้าที่ต่างๆ อาทิ ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านศาสนา ออกแบบและจัดทำระบบข้อมูล จัดทำสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ จัดทำองค์ความรู้ตามหลักศาสนา เป็นหน่วยบริการข้อมูลด้านศาสนา พัฒนาแพลตฟอร์มบริการด้านศาสนา (Service Platform) และพัฒนาต่อยอดแอปพลิเคชันหรือบริการรูปแบบใหม่ และพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับงานด้านศาสนา ซึ่งภารกิจที่กำหนดขึ้นมาใหม่เป็นการต่อยอดงานเดิม เสริมงานใหม่ด้านศาสนา เพื่อสร้างความเข้มแข็งสามารถขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนำธรรมะสู่ใจประชาชน รวมพลังภาคีเครือข่าย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทำให้งานด้านศาสนามีความก้าวหน้าและมั่นคงและส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดความสุขสงบอย่างแท้จริง
นายชัยพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ มีการกำหนดกลุ่มภารกิจใหม่ของ ศน.เพิ่มขึ้น 2 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ กลุ่มภารกิจที่ 9 ศูนย์ปฏิบัติการด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ทำหน้าที่ต่างๆ อาทิ การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำหลักสูตรพื้นฐาน ดำเนินการออกแบบและจัดทำเครื่องมือในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม วัดและประเมินผลคุณธรรมจริยธรรม พัฒนารูปแบบและนวัตกรรมการเผยแพร่คุณธรรมจริยธรรม พัฒนาแพลตฟอร์มบริการด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม (Service Platform) และกลุ่มภารกิจที่ 10 สถาบันศาสนศึกษา มีอำนาจหน้าที่ต่างๆ อาทิ ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านศาสนา ออกแบบและจัดทำระบบข้อมูล จัดทำสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ จัดทำองค์ความรู้ตามหลักศาสนา เป็นหน่วยบริการข้อมูลด้านศาสนา พัฒนาแพลตฟอร์มบริการด้านศาสนา (Service Platform) และพัฒนาต่อยอดแอปพลิเคชันหรือบริการรูปแบบใหม่ และพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับงานด้านศาสนา ซึ่งภารกิจที่กำหนดขึ้นมาใหม่เป็นการต่อยอดงานเดิม เสริมงานใหม่ด้านศาสนา เพื่อสร้างความเข้มแข็งสามารถขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนำธรรมะสู่ใจประชาชน รวมพลังภาคีเครือข่าย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทำให้งานด้านศาสนามีความก้าวหน้าและมั่นคงและส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดความสุขสงบอย่างแท้จริง
No comments:
Post a Comment