NRF ปักหมุดปี 67 เปิดประตูสู่โอกาสอาหารไทย-สินค้าเกษตรไทย ดัน Soft Power รุกขยายซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศอังกฤษเพิ่ม 12 สาขาก้าวสู่การเป็นผู้นำ Omni Channelบริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF ผู้ผลิตจัดหา และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงสำหรับประกอบอาหาร จัดงานแถลงข่าว “NRF Asian Food Disruption” ประกาศแผนธุรกิจในปี 2024 เปิดเผยว่า NRF จะมุ่งมั่นในการดำเนินและขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้งยังมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ตั้งเป้ารายได้โตไม่น้อยกว่า 30%นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NRF กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา NRF ได้เข้าซื้อซุปเปอร์มาร์เก็ต 2 แห่ง และศูนย์กระจายสินค้าอีก 1 แห่ง ผ่านบริษัทย่อย โดยใช้ชื่อว่า Bamboo ซึ่งมีรายได้รวมกว่า 30 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง หรือๆฤ ล้านบาท เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มธุรกิจ เรามีแผนเข้าลงทุนใน ร้านค้าปลีก-ส่งที่ประเทศอังกฤษ ตั้งเป้า 12 สาขา เพื่อมุ่งสู่การเป็น Omni Channel และในปี 2024 NRF ยังคงเดินหน้าที่จะขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแพลตฟอร์มซูเปอร์มาเก็ตเอเชียที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน พร้อมกับอัปเดทว่าบริษัทฯ จะนำ Bamboo Mart Limited เข้าระดมทุน IPO ในตลาด NASDAQ ในช่วงปลายปี โดยเป็นการขยายการลงทุน และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง พร้อมกับนำเสนอสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารสด อาหารแห้ง วัตถุดิบปรุงอาหาร ของใช้ในบ้าน และสินค้าเอเชียอื่น ๆให้กับผู้บริโภคชาวเอเชียที่อาศัยอยู่ในลอนดอนได้อย่างครบครัน ซึ่งจะนำโมเดลจากร้านค้าปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จมาประยุกต์ใช้ อย่างร้านชุงลี (Chuang Lee Cash&Carry) โดยจะปรับขนาดที่เหมาะสมเพื่อเน้นการกระจายตามจุดยุทธศาสตร์การค้าสำคัญ การเข้าถึงลูกค้าที่มากขึ้น ซึ่งเชื่อมั่นว่าอาหารท้องถิ่นหรืออาหารชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอาหารเอเชียมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ผนวกกับอัตราของกลุ่มประชากรชาวเอเชียที่มากขึ้นในลอนดอน ซึ่งแผนขยายสาขานี้จะทำให้ NRF สามารถขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของอาหารเอเชียในตลาดโลก อีกนัยนึงจะทำให้กลุ่มธุรกิจหลักของเราเติบโตขึ้น
เพื่อเป็นการเสริมความแกร่งในการแข่งขันให้ครอบคลุมการเป็นผู้นำ Omni Channel NRF ได้พัฒนา Mobile Application สำหรับใช้ในประเทศอังกฤษ “NRF Platform” แพลตฟอร์มทันสมัย เพื่อผู้ส่งออกไทยครอบคลุมในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรงและกว้างขวาง ส่งต่อประสบการณ์ระดับโลกจะทำให้ผู้บริโภคได้เห็นสินค้าเอเชียที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแค่อาหารไทย แต่ยังมีอาหารเอเชียอีกหลากหลายสัญชาติ เพื่อเป็นการชูศักยภาพและการเข้าถึงอาหารเอเชียที่แท้จริง ถือเป็นการเสริมศักยภาพการแข่งขันให้แก่สินค้าเอเชียในตลาดยุโรป อีกนัยหนึ่งเป็นการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะสามารถพัฒนาสินค้าและบริการที่สอดคล้องตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค และต่อยอดแผนการตลาด จะช่วยผลักดันยอดขายให้แก่ผลิตภัณฑ์ของ NRF เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเราคาดว่าจะเห็นการเติบโตอย่างน้อย 30% ในปี 2024 จากการขยายการค้าปลีกในสหราชอาณาจักรและการผลิตอาหารตามกลุ่มชาติพันธุ์ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก นางปรียากร ศังขวณิช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มาร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมสินค้าเกษตร อาหาร อาหารฮาลาล อาหารไทยสำเร็จรูป ธุรกิจบริการอาหารของไทย ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ และสินค้าอุตสาหกรรม รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงพัฒนาองค์ความรู้และจัดทำฐานข้อมูลด้านนโยบายและธุรกิจการค้าเป็นรายอุตสาหกรรมย่อยและภาพรวม ตลอดจนพัฒนาสินค้าและตลาดสินค้าเกษตร อาหาร อาหารฮาลาล อาหารไทยสำเร็จรูป ธุรกิจบริการอาหารของไทย ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ และสินค้าอุตสาหกรรม รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล
ด้าน นางสาววรชนาธิป จันทนู รองประธาน คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม “ด้านอาหาร” และรองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวเสริมว่า อาหารไทยเป็นที่รู้จักและชื่นชอบไปทั่วโลก ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ วัตถุดิบที่สดใหม่ และกรรมวิธีการปรุงที่พิถีพิถัน อาหารไทยจึงกลายเป็นเสมือนตัวแทนของวัฒนธรรมไทยและเป็น “Soft Power” ที่สำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ธุรกิจอาหารไทยมีโอกาสเติบโตสูง เนื่องจากกระแสความนิยมอาหารไทยในต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอาหารไทยยังเผชิญความท้าทายหลายประการ เช่น การแข่งขันที่รุนแรง การเปลี่ยนแปลงของเทรนด์อาหาร และความท้าทายด้านแรงงาน ดังนั้นแล้วอาหารไทยมีศักยภาพสูงที่จะเป็น “Soft Power” ที่สำคัญของประเทศจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อขับเคลื่อนอาหารไทยสู่อนาคตได้อย่างยั่งยืน
ด้าน นางสาววรชนาธิป จันทนู รองประธาน คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม “ด้านอาหาร” และรองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวเสริมว่า อาหารไทยเป็นที่รู้จักและชื่นชอบไปทั่วโลก ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ วัตถุดิบที่สดใหม่ และกรรมวิธีการปรุงที่พิถีพิถัน อาหารไทยจึงกลายเป็นเสมือนตัวแทนของวัฒนธรรมไทยและเป็น “Soft Power” ที่สำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ธุรกิจอาหารไทยมีโอกาสเติบโตสูง เนื่องจากกระแสความนิยมอาหารไทยในต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอาหารไทยยังเผชิญความท้าทายหลายประการ เช่น การแข่งขันที่รุนแรง การเปลี่ยนแปลงของเทรนด์อาหาร และความท้าทายด้านแรงงาน ดังนั้นแล้วอาหารไทยมีศักยภาพสูงที่จะเป็น “Soft Power” ที่สำคัญของประเทศจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อขับเคลื่อนอาหารไทยสู่อนาคตได้อย่างยั่งยืน
No comments:
Post a Comment