องค์การเภสัชกรรมจัดประชุมใช้สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก - BIZTHAI POST

BIZTHAI POST

The Thai Biz Website

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Saturday, March 16, 2024

องค์การเภสัชกรรมจัดประชุมใช้สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก


องค์การเภสัชกรรมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคลมชักในเด็
 
 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น องค์การเภสัชกรรมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคลมชักในเด็ก เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคลมชักในเด็ก จนเกิดการถ่ายทอดและขยายผลองค์ความรู้ สร้างการรับรู้ผลการศึกษาวิจัยให้กับแพทย์สาขานี้ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นวงกว้าง

โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สมาคมกุมารประสาทวิทยา(ประเทศไทย) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมดำเนินโครงการศึกษาการใช้สารสกัดกัญชา CBD สูง ในการรักษาโรคลมชัก ชนิดรักษายากในเด็กในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2564 – 2566 โดยมี พญ.อาภาศรี  ลุสวัสดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กุมารประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฯ และการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ใช้ผลิตภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งได้ผลดี นำไปสู่การผลักดันให้เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์
สำหรับกิจกรรมดังกล่าวมีการนำเสนอแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ CBD ในผู้ป่วยโรคลมชักในเด็ก  จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้รักษาโรคลมชัก นำโดยพญ.อาภาศรี  ลุสวัสดิ์ แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ กุมารประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ รศ.นพ.ชัยยศ คงคติธรรม จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.พญ.กมรวรรณ กตัญญูวงศ์ จากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พันเอกหญิง พญ.ภิรดี สุวรรณภัคดี จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และคุณแสงอรุณ อรรถพรพันธ์ จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้นำเสนอถึงเรื่อง การเบิกค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข และบริการกัญชาทางการแพทย์
โรคลมชักในเด็กเป็นภาวะที่รุนแรงและอาจทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวต่อผู้ป่วย การรักษาด้วยยาต้านอาการชักแบบดั้งเดิมอาจไม่ได้ผลในผู้ป่วยบางราย สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ได้แสดงให้เห็นว่ามี ศักยภาพในการลดอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชักในเด็ก แต่ในประเทศยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม   เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในกลุ่มผู้ป่วยนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศึกษาความคุ้มค่าคุ้มทุน เพื่อขยายผลเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้มากยิ่งขึ้นต่อไป



   
 
 

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad





Pages