

รวมทั้ง การจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลง ในการสำรวจจัดทำฐานข้อมูลของชุมชน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลงของเกษตรกร จัดทำขอบเขตพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ทำกิน (Zoning) กระบวนการเก็บข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผนตามความต้องการของชุมชน ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านอาชีพเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงขับเคลื่อนการพัฒนาให้เป็นไปตามหลักวิชาการ โดยใช้เครื่องมือ GPS ให้เกษตรกรเดินรอบแปลงที่ทำกินของตัวเอง และบันทึกข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่และตรวจเช็คความถูกต้อง แบ่งปันการใช้ข้อมูลร่วมกันในชุมชน เกิดเป็นแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลงของเกษตรกรบ้านแม่วากขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ชุมชนและหน่วยงานเห็นภาพบริบทชุมชนร่วมกัน เกิดการร่วมวิเคราะห์ และวางแผนในการพัฒนาได้ตรงกับปัญหาที่แท้จริง

โดย สวพส. สนับสนุนเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ งบประมาณในการดำเนินงาน เครื่องมือแผนที่ต่าง ๆ ที่ใช้ในการวางแผนการพัฒนา และเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานระหว่างชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการในพื้นที่ แต่ละภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในแต่ละระยะของการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันความสำเร็จของบ้านแม่วาก เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การร่วมดำเนินงานทุกภาคส่วน ผ่านกิจกรรมสำคัญๆ คือ การใช้แผนที่ในการวางแผนการพัฒนาร่วมกัน (one map) ที่ช่วยสร้างความเข้าใจ ร่วมตกลงวางแผนและตัดสินใจ ชุมชนรับทราบข้อมูลที่แท้จริง ทำให้ลดความขัดแย้งเรื่องที่ดินทำกิน การพัฒนาผู้นำด้านทักษะและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการบริหารจัดการพื้นที่ของชุมชน การถอดบทเรียนจากการทำงานที่ผ่านมา ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานต่างๆ โดยชุมชนแม่วากได้รับการยกย่องว่าเป็น “หมู่บ้านเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำ” ให้กับชุมชนรอบข้างเข้ามาเรียนรู้ปัจจุบันชุมชนบ้านแม่วากมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร กว่า 40 บ่อ ปริมาณน้ำทั้งหมด 5,780 ลบ.ม พื้นที่ได้รับประโยชน์ 624.42 ไร่ เกษตรกรผู้ได้รับประโยชน์ 66 รายจำนวน 72 แปลง และมีแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ เกิดรูปแบบการดำเนินงานเป็น “แม่วากโมเดล” เพื่อดำเนินการต่อยอดการพัฒนาเชิงพื้นที่ ทุกวันนี้บ้านแม่วากเกิดการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวกลายเป็นพื้นที่ปลูกพืชผักภายใต้มาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP) และเกษตรอินทรีย์ การปลูกไม้ผลในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกไผ่ผสมผสาน และไม้มีค่ากว่า 58 ชนิด เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวของชุมชนและความสมบูรณ์ของพื้นป่า
No comments:
Post a Comment