
ไทยโทคาแมค-1 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันเครื่องแรกของไทย พร้อมเดินเครื่องวิจัยเดือนมีนาคม 2566

ประเด็นของเราไม่ได้อยู่ที่ว่าคนอื่นไปแล้วไปทำไม มันอยู่ที่ว่าเราสามารถบังคับยาวอวกาศที่อยู่ห่างจากประเทศไทย 400,000 กิโลเมตรได้ เราไม่เคยคิดว่าคนไทยจะทำได้ ไม่ได้มีแต่ดาวเทียมหรือยานอวกาศเท่านั้นที่คนไทยจะทำได้ แต่ว่าเรามีเครื่องฉายแสงซินโครตรอน ที่มีอยู่แห่งเดียวในอาเซียน สิงคโปร์ก็ไม่มี เราเป็นชาติไม่กี่ชาติในเอเชียที่มีเครื่องฉายแสงซินโครตรอน ทำหน้าที่สร้างปฏิกิริยาฟิวชัน ฟิวชันคือการมารวมกัน เหมือนอาหารฟิวชัน 
เรื่องปฏิกิริยานิวเคลียร์มี 2 เรื่องหลักๆ คือ เรื่องฟิชชัน ฟิชชันแปลว่าแตกออกไป ฟิวชันแปลว่ารวมเข้ามา ปฏิกิริยาแบบฟิชชันเช่นตัวอย่างระเบิดปรมาณูแตกออกมาก็เกิดเป็นแรงระเบิด มีพลังงานปล่อยออกมาเยอะ และมีกัมมันตรังสีที่เป็นพิษด้วย แต่ฟิวชันเป็นกระบวนการที่สร้างพลังงานมากมายมหาศาลแต่ว่าไม่มีกัมมันตรังสีที่เป็นพิษ หรืออาจจะมีก็น้อยมากๆ ไม่ได้อยู่ในระดับที่เราจะต้องกังวล เป็นปฏิกิริยาที่เกิดบนดวงอาทิตย์ทุกวันทุกคืนตลอดเวลา ดวงอาทิตย์ให้ความร้อนแก่โลกแก่จักรวาลก็เพราะปฏิกิริยาฟิวชันที่เกิดบนดวงอาทิตย์ แต่นั่นมันเป็นปฏิกิริยาธรรมชาติ มนุษย์พยายามที่จะทำเทคโนโลยีฟิวชัน จนกระทั่งไม่กี่วันที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่โลกสามารถ


ทำฟิวชันโดยเอาพลังงานใส่เข้าไป แล้วเกิดพลังงานฟิวชันที่ได้พลังงานมากกว่าที่ใส่เข้าไป ก่อนหน้านี้ใส่เข้าไปกับที่ได้ออกมามันเท่า ๆ กัน หรือได้มากกว่ากันนิดหน่อย เรียกว่าefficiencyมันไม่สูง แต่ปัจจุบันนี้มันสูงขึ้นและต่อไปก็จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นก็มีความหวังสำหรับคนที่รักธรรมชาติรักสิ่งแวดล้อมทั้งหลายว่าเราจะสามารถต่อสู้กับ Carbon Footprint เรื่องอะไรต่าง ๆ ได้ เพราะว่าเราจะมีแหล่งพลังงานที่สะอาด และก็แทบจะไม่มีที่สิ้นสุด ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องมลพิษเรื่องอะไรต่าง ๆ จะหมดไปโดยปริยาย ในโลกนี้มีประมาณ 40 กว่าประเทศที่ทำปฏิกิริยาฟิวชันได้ ในเอเชียมีจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี อิหร่านทำได้ ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ทำฟิวชันได้ ในอาเซียนก็น่าจะมีเราที่มีเครื่องโทคาแมคฟิวชัน ได้มาจากที่จีนโดยที่จีนนับถือสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของเรามาก จีนก็ให้เครื่องโทคาแมคกับเรามา EGAT(กฟผ.)ก็มาสนับสนุนการฝึกการใช้ การสร้างคน เราถอดออกมาแล้วก็ศึกษาใส่คืนไปแล้วศึกษาทดลองที่เมืองจีน ได้ผล เดี๋ยวเราก็จะย้ายมาที่เมืองไทยมาอยู่ที่ สทน. องครักษ์ ที่สำคัญเรามีคนที่ทำโทคาแมคได้หลายคนทีเดียวเป็นทีมเลย อันนี้ก็ทำให้เราปักธงโทคาแมคได้ในประเทศไทย”


สำหรับเครื่องโทคาแมคที่ไทยพัฒนาร่วมกับ ASIPP จะมีชื่อว่า Thai Tokamak-1 หรือ TT-1 เมื่อเดินเครื่อง คาดว่าอุณหภูมิของพลาสมาในระยะแรกจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 องศาเซลเซียส และ สทน. มีแผนพัฒนาระบบให้ความร้อนเสริมแก่พลาสมาด้วยวิธีการให้ความร้อนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อยกระดับอุณหภูมิของพลาสมาไปสู่ระดับ 1,000,000 องศาเซลเซียส และในอนาคตจะมีการออกแบบและสร้างเครื่องโทคาแมคเครื่องใหม่ขึ้นมาเองโดยจะใช้เทคโนโลยี Superconducting magnet เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงขึ้นสำหรับกักพลาสมาและการให้ความร้อนเสริมด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้าง พลาสมาที่มีอุณหภูมิสูงในระดับ 10,000,000 องศาเซลเซียสได้เครื่องโทคาแมคที่ติดตั้งที่ สทน. จะใช้สำหรับการศึกษาปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน เพื่อใช้เป็นพลังงานสะอาดในการผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคต และการนำพลาสมาไปใช้ในด้านอุตสาหกรรม การเกษตร และด้านการแพทย์ และจากการพัฒนาเครื่องโทคาแมคนี้จะทำให้ประเทศมีองค์ความรู้และสามารถสนับสนุนงานด้านวิศวกรรมระบบรางของไทยได้ในอนาคต


No comments:
Post a Comment