เซลล์และยีนบำบัด ถือเป็นหนึ่งในประเภทของยาที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีข้้นสูงในการผลิตโดยสถาบันเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศพ.ร.บ.ยาแห่งชาติจึงอนุญาตให้ไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ อย.รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สิทธิ์ สาธรสุเมธี รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการจัดสร้างสถานที่ผลิตเซลล์และยีนบำบัด เพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง และโรคทางพันธุกรรมต่างๆ สำหรับผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราชเพื่อร่วมสร้างความมั่นคงทางยาของชาติว่า ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการเร่งออกแบบ โดยจะใช้สถานที่ 800 ตารางเมตรของอาคารศูนย์วิจัยศิริราช SiMR บริเวณชั้น 11 เป็นที่ทำการกำหนดแล้วเสร็จปลายปีหน้า
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สิทธิ์ สาธรสุเมธี ได้ให้มุมมองถึงการผลิตยาขึ้นใช้เองภายในโรงพยาบาลว่าจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยมาเป็นอันดับหนึ่ง จากยาต่างๆที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กับผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชซึ่งสามารถมั่นใจได้ถึงมาตรฐาน GMP เช่นเดียวกับการผลิตเซลล์และยีนบำบัดที่ได้คุณภาพและมาตรฐานจากการมีงานวิจัยมารับรอง และผ่านการทดสอบอย่างถูกต้องในสัตว์ทดลอง ก่อนจะได้ใช้จริงกับผู้ป่วยต่อไป
นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้ยกระดับศักยภาพทางการวิจัยและวิชาการผ่านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) สู่ระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นการร่วมวิจัยที่จะยังประโยชน์ที่เท่าเทียมต่อทั้งสองฝ่าย อาทิ การได้ร่วมวิจัยกับ Oregon Health & Science University (OHSU) สหรัฐอเมริกา ถึง 9 โครงการ โดยมีเรื่อง Genomic Medicine หรือการรักษาโรคทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในหัวข้อวิจัยหลัก
โลกของนวัตกรรมไม่ได้สร้างได้ภายในวันเดียว เช่นเดียวกับการมุ่งสู่การเป็น "World Changer" สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ 10 ปีของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อมุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่สุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่คนไทยจะได้สัมผัสอย่างเต็มรูปแบบต่อไปในเร็ววันนี้
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สิทธิ์ สาธรสุเมธี ได้ให้มุมมองถึงการผลิตยาขึ้นใช้เองภายในโรงพยาบาลว่าจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยมาเป็นอันดับหนึ่ง จากยาต่างๆที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กับผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชซึ่งสามารถมั่นใจได้ถึงมาตรฐาน GMP เช่นเดียวกับการผลิตเซลล์และยีนบำบัดที่ได้คุณภาพและมาตรฐานจากการมีงานวิจัยมารับรอง และผ่านการทดสอบอย่างถูกต้องในสัตว์ทดลอง ก่อนจะได้ใช้จริงกับผู้ป่วยต่อไป
นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้ยกระดับศักยภาพทางการวิจัยและวิชาการผ่านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) สู่ระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นการร่วมวิจัยที่จะยังประโยชน์ที่เท่าเทียมต่อทั้งสองฝ่าย อาทิ การได้ร่วมวิจัยกับ Oregon Health & Science University (OHSU) สหรัฐอเมริกา ถึง 9 โครงการ โดยมีเรื่อง Genomic Medicine หรือการรักษาโรคทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในหัวข้อวิจัยหลัก
โลกของนวัตกรรมไม่ได้สร้างได้ภายในวันเดียว เช่นเดียวกับการมุ่งสู่การเป็น "World Changer" สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ 10 ปีของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อมุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่สุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่คนไทยจะได้สัมผัสอย่างเต็มรูปแบบต่อไปในเร็ววันนี้
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
No comments:
Post a Comment