สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมอบรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 - BIZTHAI POST

BIZTHAI POST

The Thai Biz Website

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, August 2, 2022

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมอบรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565


 นับเป็นความปลาบปลื้มของนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564-2565 รางวัลศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น วช.ประจำปี 2563-2565 และรางวัลเมธีวิจัยอาวุโส วช. ประจำปี 2563-2565 จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ


เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)” จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ระหว่างวันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2565 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โอกาสนี้ทรงพระราชทาน รางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564-2565, รางวัลศาสตราจารย์วิจัย วช.ประจำปี 2563-2565 และรางวัลเมธีวิจัยอาวุโสวช. ประจำปี 2563-2565 ก่อนเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงผลงาน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติและการแสดงผลงานวิจัยและการแสดงโดรนแปรอักษร




ตามที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ประกาศเชิญชวนให้องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ เสนอชื่อบุคคล ซึ่งเป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนเพื่องานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ หลายเรื่องในกลุ่มวิชาการ หรือ สหวิทยาการ มีจริยธรรมของนักวิจัยครบถ้วน สมบูรณ์ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จนเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้น ๆ สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยอื่น เพื่อขอรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 -2565 นั้น

ทั้งนี้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 มีจำนวน 7 รางวัล ใน 5 สาขาวิชาการ ได้แก่ 1. ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วิปร วิประกษิต แห่ง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) 2. ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย มาลีวงษ์ แห่ง คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) 3. ศาสตราจารย์ ดร.เกศรา ณ บางช้าง แห่ง วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) 4. รองศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย แห่ง สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) 5. ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน แห่ง บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย – เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) 6. ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ แห่ง คณะศิลปศาสตร์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาปรัชญา) 7. รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ แห่ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาปรัชญา)

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2565 มีจำนวน 10 รางวัล ใน 7 สาขาวิชาการ ดังนี้ 1. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล แห่ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์) 2. ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ แห่ง ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์) 3. ศาสตราจารย์ ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) 4. ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น แห่งคณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาเกษตรศาสตร์ และชีววิทยา) 5. รองศาสตราจารย์ ไตรรัตน์ จารุทัศน์ แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาปรัชญา) 6. ศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ แห่ง คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขานิติศาสตร์) 7. ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ แห่ง คณะนิติศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (สาขานิติศาสตร์) 8. ศาสตราจารย์ รุธิร์ พนมยงค์ แห่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาเศรษฐศาสตร์) 9. รองศาสตราจารย์ ดร.วธนน์ วิริยสิทธาวัฒน์ แห่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) 10. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ แห่ง วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (สาขาการศึกษา) ทั้งนี้ นักวิจัยที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ได้รับเหรียญรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พร้อมประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณ และเงินรางวัล ในแต่ละสาขาวิชาการ ๆ ละ 500,000 บาท

ผู้ได้รับรางวัลศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น วช.ประจำปี 2563 จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ 1.ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ 2.ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ 3.ศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ ศิริวัฒน์ รางวัลศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น วช. ประจำปี 2564 จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ 1. ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล 2.ศาสตราจารย์ ดร.ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย 3. ศาสตราจารย์ ดร.มาโกโตะ โอกาวะ รางวัลศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น วช.ประจำปี 2565 จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ 1. ศาสตราจารย์ ดร.วินิช พรมอารักษ์ 2.ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช 3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สายสมร ลำยอง

รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส วช.ประจำปี 2563 จำนวน 15 รางวัล ได้แก่ 1. ศาสตราจารย์ ดร.ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง 2. ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา 3. ศาสตราจารย์ ดร.ธนาภัทร ปาลกะ 4. ศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์ 5. ศาสตราจารย์ ดร.วิไล รังสาดทอง 6. ศาสตราจารย์ ดร.จูงใจ ปั้นประณต 7. ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ 8. ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร. ทันตแพทย์หญิงสิริพร ฉัตรทิพากร 9. ศาสตราจารย์ ดร.อิสระชัย งามหรู 10. ศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน สุขน้อย 11. ศาสตราจารย์ ดร.เกศรา ณ บางช้าง 12. ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์ 13. รองศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี 14. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 15. ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์




รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส วช.ประจำปี 2565 จำนวน 12 รางวัลได้แก่ 1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เควิน เดวิด ไฮด์ 2. รองศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ ยงสวัสดิกุล 3. ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ บุรีรัตน์ 4. ศาสตราจารย์ ดร.แชบเบียร์ กีวาลา 5. ศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิงปราณีต โอปณะโสภิต 6. ศาสตราจารย์ ดร.รังสินี โสธรวิทย์ 7. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช 8. ศาสตราจารย์ นายแพทย์อนุชา อภิสารธนรักษ์ 9.รองศาสตราจารย์ ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ 10. รองศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ 11. รองศาสตราจารย์ ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส 12. รองศาสตราจารย์ ดร.โชติมา จตุรวงค์

อนึ่ง “รางวัลการวิจัยแห่งชาติ” เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ วช. ได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปีต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมท้ังเพื่อเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ที่ได้ค้นคว้าวิจัย และคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1. รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2. รางวัลผลงานวิจัย 3. รางวัลวิทยานิพนธ์ และ4. รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น

ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นและทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส) เป็นการดำเนินการที่ วช. ได้รับโอนภารกิจการบริหารจัดการทุน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2562 จากสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่เปลี่ยนไปปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งเป็นทุนที่ดำเนินการสืบเนื่องมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551

ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสที่มีศักยภาพสูง ให้มีโอกาสพัฒนาและผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวจะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีผลกระทบทางวิชาการสูง หรือ มีศักยภาพสูงมาก ในการนำไปประยุกต์เพื่อให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติท้ังในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านพาณิชย์ ด้านนโยบาย ด้านสาธารณะ ด้านชุมชน และพื้นที่ หรือสร้างผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ โดยผู้ได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น จะได้รับการยกย่องเป็น “ศาสตราจารย์วิจัย ดีเด่น วช.”

ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย เป็นการสนับสนุนนักวิจัยอาวุโส ได้สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูงให้แก่ประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักวิจยัรุ่นใหม่ สร้างทีม และพัฒนาผลงานที่มีคุณภาพสูงแบบมุ่งเป้า ที่สามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะ หรือ เชิงนโยบาย เพื่อสร้างศักยภาพฐานความรู้ที่สามารถสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส) ไม่เปิดให้สมัคร แต่ใช้วิธีการสรรหาและอาจเสนอชื่อจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ วช. แต่งตั้ง ซึ่งจะพิจารณาจากรายชื่อ กลุ่มต่าง ๆ เช่น รายนามนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ รายนามนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รายนาม นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รายนามนักเทคโนโลยีดีเด่นของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ รายนาม คณาจารย์มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ รวมทั้งการเสนอชื่อผู้เข้าข่ายที่มีคุณสมบัติของเมธีวิจัยอาวุโส วช. จากคณบดีของมหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทั่วประเทศ โดยผู้ได้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส) จะได้รับการยกย่องเป็น “เมธีวิจัยอาวุโส วช.”

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad





Pages