“3P ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์” ม.ธรรมศาสตร์ กวาด 3 รางวัล สุดยอด “ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565” - BIZTHAI POST

BIZTHAI POST

The Thai Biz Website

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Friday, August 5, 2022

“3P ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์” ม.ธรรมศาสตร์ กวาด 3 รางวัล สุดยอด “ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565”










“3P ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์” ม.ธรรมศาสตร์ กวาด 3 รางวัล สุดยอด “ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565” ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประกาศผลและมอบรางวัลการประกวด “ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565” ภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ” ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 ณ ชั้น 22 และ 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร มีผลงานส่งเข้าประกวด จำนวน 150 ผลงาน ซึ่งมีการมอบรางวัลประกอบด้วย รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการ จำนวน 30 รางวัล รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา จำนวน 30 รางวัล และ เหรียญรางวัลตามเกณฑ์คะแนน ของแต่ละผลงาน จำนวน 155 รางวัล ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ,ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์, การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ,ด้านพลังาน สิ่งแวดล้อมและ BCG Economy Model และด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์



ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอชื่นชมคณะอาจารย์ นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้บริหารหน่วยงาน ที่ให้การสนับสนุน และส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์ หรือองค์ความรู้การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อเป็นฐานความรู้ ในการนำไปพัฒนาประเทศ โดยกิจกรรมประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมสำคัญหนึ่ง ภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565” หรือ “Thailand Research Expo 2022” ซึ่งจัด ขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนไทย ได้นำเสนอผลงาน จากความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนเพื่อเป็นขวัญ กำลังใจ ในการพัฒนาผลงาน ให้ก้าวไปสู่เส้นทาง การเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป


ทั้งนี้รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการ จำนวน 30 รางวัล มีผลงานที่ได้รับรางวัลดีเด่นดังนี้





ระดับปริญญาตรี รางวัลดีเด่นเงินรางวัล 15,000 บาท ประกอบด้วย

เรื่อง “3P ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,เรื่อง “เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ต้องเจาะเลือดชนิดพกพา” มหาวิทยาลัยรังสิต,เรื่อง“นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ระบบทางเดินหายใจเพื่อเสริมสร้างทักษะสำหรับแพทย์ในศตวรรษที่ 21” มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, เรื่อง “เซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าสำหรับตรวจวัดตะกั่วเพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำ” มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี,เรื่อง “เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมที่ใช้ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


ระดับบัณฑิตศึกษา รางวัลดีเด่นเงินรางวัล 20,000 บาท ประกอบด้วย

เรื่อง “ฉลากอัจฉริยะบ่งชี้เวลา-อุณหภูมิ สำหรับผลิตผลสด” หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เรื่อง “พร็อก มอส : อุปกรณ์ตรวจคัดกรองระดับโมเลกุลมะเร็งต่อมลูกหมาก” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , เรื่อง “ไมอีโลซอฟต์ : การพัฒนาระบบนับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมชนิดคอนโวลูชัน” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล, เรื่อง “เพิร์ลสกิน: ครีมขัดผิวเกล็ดประกายมุก”จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เรื่อง “การปรับปรุงประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจุลชีพและสมรรถนะด้านต่างๆของวัสดุผสมซีเมนต์เชิงประกอบด้วยสารประกอบอลูมินัม-สังกะสี” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์




รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา จำนวน 30 รางวัล มีดังนี้


ระดับปริญญาตรี รางวัลดีเด่น เงินรางวัล 20,000 บาท ประกอบด้วย

เรื่อง “3P ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,เรื่อง “ผิวหนังเทียมที่ทำจากเจลาตินเมทาคริโลอิลและเซลล์ต้นกำเนิดผสมโกรทแฟคเตอร์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ชีวภาพสามมิติสำหรับการรักษาแผล” มหาวิทยาลัยรังสิต,เรื่อง “นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ระบบทางเดินหายใจเพื่อเสริมสร้างทักษะสำหรับแพทย์ในศตวรรษที่ 21” มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,เรื่อง “การผลิตอนุภาคนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรื่อง “คูดี้ เคยูทัวร์” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ระดับบัณฑิตศึกษา รางวัลดีเด่น เงินรางวัล 30,000 บาท ประกอบด้วย


เรื่อง “นวัตกรรมการจัดการน้ำและธาตุอาหารแบบลุ่มน้ำสำหรับการผลิตทุเรียน” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,เรื่อง “ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพซินไบโอโทโทล ไรซ์” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, เรื่อง “ไมอีโลซอฟต์ : การพัฒนาระบบนับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมชนิดคอนโวลูชัน”จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล,เรื่อง “การผลิตไฟฟ้าร่วมอบแห้งและกำจัดขยะติดเชื้อทางการแพทย์” มหาวิทยาลัยแม่โจ้และเรื่อง “การเปลี่ยนรูป “ราชธานีศรีวะนาไล” ผ่านวิธีพหุสัมผัส
สู่สุนทรียะเชิงสัมพันธ์” มหาวิทยาลัยบูรพา




รางวัลเหรียญรางวัลตามเกณฑ์คะแนน ของแต่ละผลงาน

รางวัลเหรียญทองจำนวน 44 รางวัล อาทิ สารละลายช่วยผสมเกสรทุเรียน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,เม็ดบีดจุลินทรีย์รวมย่อยสลายอินทรีวัตถุ ชักนำรากแก้ปัญหารากเน่าโคนเน่าในต้นทุเรียน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3P ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,ฉลากอัจฉริยะบ่งชี้เวลา-อุณหภูมิ สำหรับผลิตผลสด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนาโนฟิล์มโดยกระบวนการสปาร์คเพื่อใช้เป็นตัวดูดซับเอทิลีน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น พร้อมรางวัลเหรียญเงินจำนวน 81 รางวัล และ เหรียญทองแดงจำนวน 30 รางวัล

ผอ.วช.กล่าวย้ำว่า การจัดกิจกรรม การประกวดผลงาน นวัตกรรมสายอุดมศึกษา ตลอดการจัดงาน ที่ผ่านมา มีผู้ให้ความสนใจ ผลงานของนิสิต นักศึกษา ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ พร้อมทั้งเป็นการสร้างเครือข่าย ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างนักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา เพื่อก้าวสู่การเป็นนักวิจัยในอนาคตที่ดี ในวันนี้ ขอแสดงความยินดีอีกครั้ง กับทีมน้องๆ เยาวชนทุกทีม ที่ได้รับรางวัล ขอให้ เพียรพยายาม มุมานะในการพัฒนา ผลงานวิจัย และนวัตกรรมต่อไป และหวังว่า ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น และนวัตกรรม ของนิสิตนักศึกษา จะช่วยขยายผล ในการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนาประเทศ ได้อย่างกว้างขวาง และเป็น รูปธรรมต่อไป






No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad





Pages