พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเจิมรถทำฟันเคลื่อนที่
ประธานกรรมการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านทันตกรรม ก่อให้เกิดโครงการที่มีประโยชน์ต่อประชาชนมากมายหลายโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยทันตกรรมพระราชทาน
ศาสตราจารย์พิเศษ ทพญ. ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช
ศาสตราจารย์พิเศษ ทพญ. ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ประธานกรรมการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์และผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นทันตแพทย์มีโอกาสรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยการดูแลถวายงานเรื่องพระทนต์ของพระองค์ท่าน เป็นเวลาทั้งหมด 46 ปีภายหลังการรักษาแต่ละครั้ง พระองค์ท่านจะทรงมีพระราชปฏิสัณฐานหรือทรงคุยด้วยนาน ๆ ท่านทรงซักถาม แนะนำ สั่งสอนให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ซึ่งคณะทันตแพทย์ประจำพระองค์ได้น้อมนำพระราชดำรัสเหล่านั้นมาปฏิบัติ จนเกิดเป็นโครงการพระราชดำริทางด้านทันตกรรมหลายโครงการด้วยกัน
ทั้งนี้ โครงการที่ถือว่ามีความสำคัญและยังมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ได้แก่โครงการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อช่วยดูแลราษฎรที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการหน่วยทันตกรรมพระราชทานเคลื่อนที่นั้น เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 หลังจากที่คณะแพทย์ทำพระทนต์เสร็จในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งว่า เวลาพระองค์ท่านมีปัญหามีหมอมาช่วยกันรักษา แล้วราษฎรที่อยู่ห่างไกลความเจริญ มีใครช่วยดูแลไหม เมื่อได้รับคำตอบว่าไม่มี พระองค์ท่านจึงรับสั่งว่า การที่จะให้ชาวไร่ชาวนา ที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ต้องทิ้งท้องไร่ท้องนาเข้ามาหาทันตแพทย์เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับฟันหรือสุขภาพในช่องปาก ย่อมเป็นไปได้ยาก น่าที่ทันตแพทย์จะต้องเดินทางไปดูแลเป็นครั้งคราว
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการหน่วยทันตกรรมพระราชทานเคลื่อนที่นั้น เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 หลังจากที่คณะแพทย์ทำพระทนต์เสร็จในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งว่า เวลาพระองค์ท่านมีปัญหามีหมอมาช่วยกันรักษา แล้วราษฎรที่อยู่ห่างไกลความเจริญ มีใครช่วยดูแลไหม เมื่อได้รับคำตอบว่าไม่มี พระองค์ท่านจึงรับสั่งว่า การที่จะให้ชาวไร่ชาวนา ที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ต้องทิ้งท้องไร่ท้องนาเข้ามาหาทันตแพทย์เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับฟันหรือสุขภาพในช่องปาก ย่อมเป็นไปได้ยาก น่าที่ทันตแพทย์จะต้องเดินทางไปดูแลเป็นครั้งคราว
จากพระราชดำรัสในครั้งนั้นทำให้เกิด รถทำฟันเคลื่อนที่หรือ หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9ทรงเจิมรถที่พระราชวังไกลกังวลหัวหิน เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2513 มีรถหนึ่งคันพร้อมอุปกรณ์และมีทันตแพทย์จากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน วิ่งไปตามอำเภอต่าง ๆ โดยจุดแรกที่ไปทำฟันคือที่ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
“ทำวันแรก มีคนไข้ไม่กี่คนหรอก เพราะว่า พอเปิดปากดู ก็มีแต่เรื่องจะต้องถอนทั้งหมดเพราะฉะนั้นการบริการที่เราทำ ส่วนใหญ่เป็นการถอนฟันและให้การศึกษา คนที่มารับบริการบอกว่า มีหมอฟันอยู่ในโลกนี้ด้วยหรือ ไม่รู้จักมาก่อน” ประธานกรรมการมูลนิธิเล่าบรรยากาศแรกเริ่มให้ฟัง
ปัจจุบันหน่วยทันตกรรมพระราชทานได้รับการขยายเพิ่มเติมเป็น 7มหาวิทยาลัยและ 1 โรงพยาบาลประกอบด้วย คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ 1 โรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา รวมหน่วยทันตกรรมพระราชทานจำนวน 8 หน่วย
ประธานกรรมการมูลนิธิกล่าวต่อว่า จากหน่วยทันตกรรมพระราชทานที่เริ่มขึ้น ต่อมาได้มีก่อให้เกิดโครงการอื่นๆ ด้านทันตกรรมขึ้นอีกหลายโครงการเช่น โครงการฟันเทียมพระราชทาน, โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติ, การจัดตั้งมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์,โครงการอาหารพระราชทาน เจลลี่โภชนา, แผนทันตสุขภาพผู้สูงอายุประเทศไทย (พ.ศ.2558 – 2565) โดยมูลนิธิทันตนวัตกรรมฯ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการหน่วย สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยทันตกรรมทั้ง 8 หน่วย แต่ละปีจะมีการออกหน่วยทันตกรรมให้บริการประชาชนเป็นประจำ ยกเว้นบางปีที่เกิดภาวะวิกฤต เช่น ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
“ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์ท่านอย่างแท้จริง” ประธานกรรมการมูลนิธิกล่าว
หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ปฏิบัติงาน
ปัจจุบันหน่วยทันตกรรมพระราชทานได้รับการขยายเพิ่มเติมเป็น 7มหาวิทยาลัยและ 1 โรงพยาบาลประกอบด้วย คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ 1 โรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา รวมหน่วยทันตกรรมพระราชทานจำนวน 8 หน่วย
ประธานกรรมการมูลนิธิกล่าวต่อว่า จากหน่วยทันตกรรมพระราชทานที่เริ่มขึ้น ต่อมาได้มีก่อให้เกิดโครงการอื่นๆ ด้านทันตกรรมขึ้นอีกหลายโครงการเช่น โครงการฟันเทียมพระราชทาน, โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติ, การจัดตั้งมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์,โครงการอาหารพระราชทาน เจลลี่โภชนา, แผนทันตสุขภาพผู้สูงอายุประเทศไทย (พ.ศ.2558 – 2565) โดยมูลนิธิทันตนวัตกรรมฯ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการหน่วย สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยทันตกรรมทั้ง 8 หน่วย แต่ละปีจะมีการออกหน่วยทันตกรรมให้บริการประชาชนเป็นประจำ ยกเว้นบางปีที่เกิดภาวะวิกฤต เช่น ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
“ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์ท่านอย่างแท้จริง” ประธานกรรมการมูลนิธิกล่าว
No comments:
Post a Comment