สมาคมธนาคารไทย พร้อมขับเคลื่อน “กรุงเทพมหานคร” สู่เมืองเศรษฐกิจสีเขียว ชูนโยบายสนับสนุน BCG สินเชื่อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำโครงสร้างพื้นฐานด้าน “ดิจิทัล” ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับการให้บริการของกทม. เสริมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องยุทธศาสตร์ 3 ปีของสมาคมฯ
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ว่า การประชุมในวันนี้ มีหลายประเด็นที่เน้นแนวทางความร่วมมือในหลายด้าน ซึ่งสมาคมธนาคารไทย เป็นหน่วยงานที่ 3 ที่ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร หลังจากเข้าพบสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดเป็น 3 เสาหลักเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยในอนาคตจะรีบผลักดันให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมฯ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนหารือความคิดเห็นและความร่วมมือร่วมกันทุกเดือนระหว่างกทม.กับภาคธุรกิจ อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งวันนี้ทางสมาคมธนาคารไทยได้รับทราบเป้าประสงค์ แนวคิดของกทม.แล้ว และอยากร่วมผลักดันกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นเมืองหลักของการสร้างงาน สามารถดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก สร้างความสุขให้คนไทยและเป็นเมืองหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ โดยการตั้งคณะกรรมการฯ คาดว่าจะสำเร็จภายใน 1 เดือน เนื่องจากการพัฒนาเมืองต้องมีความร่วมมือกันเพราะเมืองคือแหล่งงาน แหล่งอาชีพ เมืองจะอยู่ได้ต้องมีการสร้างงานสร้างเศรษฐกิจที่มีคุณภาพขึ้น
โดยกทม.จะอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจเอกชน ด้วยการลดขั้นตอนต่าง ๆ ส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ โดยทำควบคู่กับเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงการใช้เทคโนโลยีนำมาปรับปรุงคุณภาพชีวิต โดยในปัจจุบันธนาคารก้าวหน้ามากในเรื่องของ Application การให้บริการ เทคโนโลยีการพิสูจน์ตัวตน ซึ่งกทม.อาจจะนำบางส่วนมาใช้งานกับ Application ของกทม.ด้วย เช่น การให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนเรื่องการใช้ Application รวมถึงการให้ข้อมูลให้ชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย โดยจัดทำฐานข้อมูลและ Open Data
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่ากทม. ดูแลชุมชนกว่า 2,000 ชุมชน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลมหาศาล คนจำนวนมากในชุมชนต้องการแหล่งเงินทุน แหล่งเงินกู้ หากสามารถทำการเชื่อมฐานข้อมูลให้รู้หลักแหล่งที่อยู่อาศัยและตัวตนของผู้กู้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยี Application ต่างๆ เพื่อทำให้ธนาคารเข้าถึงลูกค้า และลูกค้าก็เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น ก็จะแก้ปัญหาในปัจจุบันที่ประชาชนต้องไปกู้หนี้นอกระบบได้ เนื่องจากกทม.มีข้อมูลชุมชนมากมายหากพัฒนาเป็นฐานข้อมูล และธนาคารสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ก็จะทำให้คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น เพราะหัวใจของการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือการเข้าถึงแหล่งเงิน หากประชาชนประกอบธุรกิจได้ดีขึ้น ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำ เพราะแหล่งเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้หลุดพ้นจากกับดักความยากจนได้ เบื้องต้นอาจจะเริ่มพัฒนาจาก 1 ชุมชน หรือ 1 อาชีพก่อน เช่น ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเนื่องจากมีหลักแหล่งตัวตนชัดเจนเพื่อให้สามารถเข้าถึงระบบแหล่งเงินทุนได้ หากประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นต้นแบบที่จะขยายความสำเร็จนี้ต่อไป
" ปัจจุบันหลายชุมชน ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ แนวคิดที่จะตั้งอาสาสมัครเทคโนโลยีประจำชุมชน ซึ่งอาจเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อจะแนะนำเทคโนโลยีต่าง ๆนี้ให้คนในชุมชน รวมถึงรวบรวมฐานข้อมูลของชุมชน ซึ่งส่วนหนึ่งเราเริ่มอบรมอาสาสมัครเทคโนโลยีไปบางส่วนบ้างแล้วก็คือคนกวาดถนนของกทม.ที่สามารถใช้เทคโนโลยี Traffy Fondue ได้ ประมาณ 10,000 คน เนื่องจากอาศัยอยู่ในทุกเขตและทุกชุมชน ซึ่งอนาคตอาจจะเป็นผู้แนะนำเทคโนโลยีทางธนาคารเพื่อให้คนในชุมชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน จะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกทม.ได้ ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลในรูปธรรมได้ ภายใน 6 เดือน" นายชัชชาติกล่าว
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ และธนาคารสมาชิกพร้อมสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกทม. สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 3 ปีของสมาคมฯที่มุ่งยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน และเสริมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับสังคมและประเทศ
ทั้งนี้ สมาคมฯ จะร่วมผลักดันภาคธุรกิจปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy) และ BCG Economy หรือโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งเดินหน้าให้ความรู้ทางการเงินและดิจิทัล สร้างกลไกในการเพิ่มวินัยทางการเงินและส่งเสริมการออมเงิน โดยเฉพาะการออมเพื่อการเกษียณอายุ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึงบริการการเงินขั้นพื้นฐานของภาคธนาคาร
นอกจากนี้ จะนำเทคโนโลยีทางการเงินเข้ามาช่วยในการพัฒนากทม. และผลักดันให้เกิด Digital Transformation โดยส่งเสริมการนำระบบ Digital มาใช้ในกระบวนการทำงาน ทั้งการชำระเงิน การเก็บค่าธรรมเนียม การชำระค่าปรับ การออกใบเสร็จแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสนับสนุนให้นำระบบ Digital Payment มาใช้ทุกเขตและทุกหน่วยงานของกทม. และสนับสนุนให้นำระบบ Digital Supply Chain Finance Platform มาใช้การจัดซื้อจัดจ้างของกทม.และบริษัทในเครือข่ายของกทม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใส สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และยังช่วยให้ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการจัดซื้อจัดจ้างของกทม.สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น อีกทั้ง พร้อมร่วมมือพัฒนาทรัพยากรบุคคลในรูปแบบ Knowledge Sharing หรือ Capacity Building เพื่อให้เกิดการประสานประโยชน์ (Synergy) ร่วมกัน
สมาคมฯ ยังสนับสนุนการพัฒนากทม. เป็นเมืองนำร่องในการเชื่อมโยงระบบชำระเงินของนักท่องเที่ยวในภูมิภาค เมื่อเดินทางมาท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามแผนงาน Regional Championing ของสมาคมฯในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ นักลงทุนและประชาชน สามารถทำกิจกรรมการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และการชำระเงินของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ต้นทุนต่ำ
“สมาคมธนาคารไทย พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนา กทม.ให้แข็งแกร่งในทุกด้าน เป็นเมืองที่น่าอยู่ และเป็นศูนย์กลางในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน”
ทั้งนี้ สมาคมฯ จะร่วมผลักดันภาคธุรกิจปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy) และ BCG Economy หรือโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งเดินหน้าให้ความรู้ทางการเงินและดิจิทัล สร้างกลไกในการเพิ่มวินัยทางการเงินและส่งเสริมการออมเงิน โดยเฉพาะการออมเพื่อการเกษียณอายุ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึงบริการการเงินขั้นพื้นฐานของภาคธนาคาร
นอกจากนี้ จะนำเทคโนโลยีทางการเงินเข้ามาช่วยในการพัฒนากทม. และผลักดันให้เกิด Digital Transformation โดยส่งเสริมการนำระบบ Digital มาใช้ในกระบวนการทำงาน ทั้งการชำระเงิน การเก็บค่าธรรมเนียม การชำระค่าปรับ การออกใบเสร็จแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสนับสนุนให้นำระบบ Digital Payment มาใช้ทุกเขตและทุกหน่วยงานของกทม. และสนับสนุนให้นำระบบ Digital Supply Chain Finance Platform มาใช้การจัดซื้อจัดจ้างของกทม.และบริษัทในเครือข่ายของกทม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใส สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และยังช่วยให้ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการจัดซื้อจัดจ้างของกทม.สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น อีกทั้ง พร้อมร่วมมือพัฒนาทรัพยากรบุคคลในรูปแบบ Knowledge Sharing หรือ Capacity Building เพื่อให้เกิดการประสานประโยชน์ (Synergy) ร่วมกัน
สมาคมฯ ยังสนับสนุนการพัฒนากทม. เป็นเมืองนำร่องในการเชื่อมโยงระบบชำระเงินของนักท่องเที่ยวในภูมิภาค เมื่อเดินทางมาท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามแผนงาน Regional Championing ของสมาคมฯในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ นักลงทุนและประชาชน สามารถทำกิจกรรมการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และการชำระเงินของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ต้นทุนต่ำ
“สมาคมธนาคารไทย พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนา กทม.ให้แข็งแกร่งในทุกด้าน เป็นเมืองที่น่าอยู่ และเป็นศูนย์กลางในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน”
No comments:
Post a Comment