
ในการดำเนินงานของกรมการศาสนาภายใต้นโยบาย “นำธรรมะสู่ใจประชาชน” ได้มุ่งเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหลักธรรมทางศาสนามากยิ่งขึ้น และใช้ทุนทางวัฒนธรรม เป็นพลังในการขับเคลื่อนอำนาจละมุน (Soft Power) “เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน”ด้วยการต่อยอดงานเดิม ขยายงานใหม่ ผ่านการดำเนินการตามนโยบาย 9 ด้าน ดังนี้

1. การเทิดทูนสถาบันหลักของประเทศ โดยกิจกรรมถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ในงานพระราชพิธีและรัฐพิธี งานวันสำคัญทางศาสนา เพื่อส่งเสริมให้พสกนิกรชาวไทยแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงสืบสานงานศาสนพิธีและวัฒนธรรมประเพณี ด้วยการจัดสวดพระมหาชาติคำหลวง สวดโอ้เอ้วิหารราย และงานกฐินพระราชทาน
2. การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้วยการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) โครงการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรและบวชศีลจาริณีภาคฤดูร้อน 4 ภาค (ภาคเหนือ-ปอยส่างลอง) โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โครงการศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด โครงการพลังบวร: ชุมชนคุณธรรม ลานธรรม ลานวิถีไทย และโครงการยกย่องคนดีศรีจังหวัด
3. ส่งเสริม ปลูกฝังให้ประชาชนนำหลักธรรมทางศาสนาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ โครงการจัดงานเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี กิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ“ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน” 4 ภาค และโครงการ “บุญแห่งทาน อาหารแห่งศรัทธา รวมถึงการเผยแพร่หนังสือเมนูอาหารสุขภาพพระสงฆ์ และการจัดตั้งคลินิกในวัด
4. อุปถัมภ์และส่งเสริมกิจการด้านศาสนา ได้แก่ กิจกรรม 5 ศาสนามหามงคล ประทีปแห่งศรัทธามหาบารมี ค่ายเยาวชนศาสนิกสัมพันธ์ การรับรองการจัดตั้งวัดคาทอลิก มหกรรมศาสนิกสัมพันธ์ของแต่ละศาสนา
5. เทศกาลและประเพณีท้องถิ่น โดยการสนับสนุนทุกศาสนิกชน ด้วยการส่งเสริมจัดงานเทศกาลงานบุญออกพรรษา การจัดงานแห่ดาว เทศกาสนวราตรี โฮลี งานเมาลิด และวันอีสเตอร์
6.มิติการเสริมสร้างเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมกิจกรรมทางประเพณีและเทศกาลทางศาสนาทุกศาสนา เปิดเส้นทางการท่องเที่ยวแห่งศรัทธาในศาสนสถาน พระเถราจารย์ และพระธาตุ รวมถึงชุมชนคุณธรรม จัดงานพลังสายบุญของเมืองไทย สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสริมสิริมงคล เปิดจุดเช็คอินทำบุญทั่วไทย เที่ยว ชม ชิม อิ่มบุญ และจัดทำ Merit Guide card (การ์ดเส้นทางบุญ)

7.ขับเคลื่อน Soft Power ท่องเที่ยวมิติศาสนา ได้แก่ เส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ตามรอยพระเถราจารย์ พระธาตุ การโครงการมหัศจรรย์วัดไทย เส้นทางไหว้พระ 9 วัด 76 จังหวัด จัดทำบุญตักบาตร ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน 12 สถานที่สำคัญทั่วไทย และเสน่ห์วันวาน เทศกาลงานวัด รวมถึง จัดทำองค์ความรู้ มหัศจรรย์วัดไทย องค์ความรู้ “นาค : ตำนานและความเชื่อในคติศาสนา”
8. ยกระดับการบริหารจัดการงานด้านศาสนา ได้แก่ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ E-Service สำหรับจัดการคำขอและการรายงานผล และการแบ่งปันความรู้ด้านศาสนาสู่สาธารณะ เพิ่มประสิทธิภาพการสืบค้นข้อมูล ภาพ วีดิทัศน์ ทางศาสนา
9.ศาสนิกสัมพันธ์ต่างประเทศ อาทิ งานการเสนอวาระครบรอบ 150 ปีชาตกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นบุคคลสำคัญของโลก การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุจากสาธารณรัฐอินเดียมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีทั่วไทย ทั่วโลก และเส้นทางแสวงบุญสังเวชนียสถาน รวมถึงสถานที่สำคัญของศาสนาต่างๆ
อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวต่อว่า สำหรับการขับเคลื่อนภารกิจของกรมการศาสนา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่จะก้าวเข้าสู่ปีที่ 83 กรมการศาสนา ขับเคลื่อนนโยบาย “นำธรรมะสู่ใจประชาชน เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน” จะเป็นการส่งเสริมงานด้านศาสนาในทุกมิติ ทั้งในด้านองค์ความรู้ การบริหารจัดการ การจัดทำแผนปฏิบัติการ ที่สอดคล้องความต้องการของประชาชนและประเทศชาติ ด้วยการนำทุนและหลักธรรมทางด้านศาสนามาพัฒนาคนให้มีคนดี คนเก่ง และคนมีคุณภาพ สิ่งสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนนโยบายให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์การทางศาสนา รวมถึง การสร้างความเข้มแข็งของ Soft Power ในมิติศาสนาเพื่อสร้างรายได้สู่ชุมชน จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เยาวชนและประชาชนคนรุ่นใหม่ใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิต และใช้ทุนทางศาสนาสร้างงาน สร้างรายได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ส่งผลให้สังคมและประเทศชาติมีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป


No comments:
Post a Comment