ประชาสังคมภาคใต้ ห่วงนโยบายเพิ่มพื้นที่น้ำเมา - กาสิโน หวั่นกระทบสุขภาพ ความสงบสุข และคุณภาพชีวิตของประชาชน จี้ออกกฎหมายให้รอบคอบ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่เอื้อนายทุน ปกป้องเด็กเยาวชน กลุ่มเปราะบาง
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 ที่ โรงแรมปุระนคร จ.นครศรีธรรมราช ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนภาคใต้ ร่วมกับ สภาประชาชนภาคใต้ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนภาคใต้ เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ-ระนอง เครือข่าย save นาบอน ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศน์วิทยา เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน - ตอนล่าง เครือข่ายชาวเลอันดามัน สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข เครือข่ายประมงพื้นบ้านภาคใต้ เครือข่ายยุวชนสร้างสรรค์สุราษฎร์ธานี เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสุขภาพ เครือข่ายการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเป็นธรรม ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดประชุมระดมความคิดเห็นและประเมินผลกระทบเชิงนโยบายที่ส่งผลต่อสุขภาพประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
นายไมตรี จงไกรจักร์ สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข กล่าวว่า ตามที่ทางรัฐบาลได้มีแนวนโยบายสร้างกาสิโน เอนเตอร์เทนเม้นคอมแพล็กซ์ และการแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยง ลดทอนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดเสรีมากขึ้น โดยปัจจุบันนี้ทั้งสองเรื่องอยู่ในการพิจารณาของรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัตินั้น โดยทางเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุม ได้ประชุมกันเพื่อประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณะ ทั้งสองกรณี ทางเครือข่ายฯ มีข้อกังวลหลายประการด้วยกัน เช่น ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียโดยทางตรงและทางอ้อม มีส่วนร่วมในการตราร่างกฎหมายดังกล่าว น้อยมากทั้ง ๆ ที่เป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง มิได้มีการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้าน อีกทั้งมิได้กำหนดแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันเด็กและเยาวชน และลดความสูญเสียจากการติดการพนันและการขาย-ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เสรีมากขึ้น
นายไมตรี จงไกรจักร์ สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข กล่าวว่า ตามที่ทางรัฐบาลได้มีแนวนโยบายสร้างกาสิโน เอนเตอร์เทนเม้นคอมแพล็กซ์ และการแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยง ลดทอนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดเสรีมากขึ้น โดยปัจจุบันนี้ทั้งสองเรื่องอยู่ในการพิจารณาของรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัตินั้น โดยทางเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุม ได้ประชุมกันเพื่อประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณะ ทั้งสองกรณี ทางเครือข่ายฯ มีข้อกังวลหลายประการด้วยกัน เช่น ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียโดยทางตรงและทางอ้อม มีส่วนร่วมในการตราร่างกฎหมายดังกล่าว น้อยมากทั้ง ๆ ที่เป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง มิได้มีการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้าน อีกทั้งมิได้กำหนดแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันเด็กและเยาวชน และลดความสูญเสียจากการติดการพนันและการขาย-ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เสรีมากขึ้น
ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มีเจตนาที่จะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่พบว่าละเลยที่จะให้ความสำคัญด้านความสูญเสียด้านครอบครัว/สังคม ด้านสุขภาพ และด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งทางเครือข่ายฯเห็นว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้น ประเทศไทยยังมีศักยภาพอีกหลายด้านที่สามารถพัฒนาด้านเศรษฐกิจได้ เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม การจัดการผลผลิตทางการเกษตรและประมงมูลค่าสูง กระจายการผลิตพลังงานสะอาดให้ระดับครัวเรือน เป็นต้น เป็นร่างกฎหมายที่ส่งผลให้เกิดการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งทางเครือข่ายฯเล็งเห็นว่า ผลประโยชน์เกือบทั้งหมดนั้น จะตกอยู่ในเงื้อมมือของกลุ่มทุนขนาดใหญ่เป็นหลัก โดยมิได้กระจายรายได้ไปสู่ชุมชนฐานรากแต่อย่างใด ซ้ำยังจะสร้างภาระด้านงบประมาณของแผ่นดินในส่วนที่จะต้องนำมาดูแลเยียวยาผู้เดือดร้อนและผู้ได้รับผลกระทบจากการเล่นการพนันและความสูญเสียจากการขายและดื่ม
ด้านนายเจกะพันธ์ พรหมมงคล ผู้ประสานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ (ขสช.) ภาคใต้ กล่าวว่า จากการระดมความคิดเห็น เครือข่ายมีความเห็นและข้อเสนอถึงรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. .... ดังนี้ 1. ขอให้ชะลอกระบวนการกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ แล้วให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 ที่ว่าด้วยก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ หน่วยงานของรัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน และนำผลนั้นมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน ให้มีการมีส่วนร่วมให้กว้างขวางที่สุด 2. ขอให้รัฐบาลพิจารณาแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจในมิติอื่น ๆ ที่ไม่เป็นการทำลายสุขภาพ และไม่มอมเมาประชาชน เช่น การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม การพัฒนามูลค่าผลผลิตทางการเกษตร การประมง การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีความสามารถแข่งขันในตลาดระดับโลก เพื่อเพิ่มรายได้และกระจายรายได้นี้ไปถึงชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง 3.ขอให้การพิจารณากฎหมาย ทั้ง 2 ประเด็น ไม่ดำเนินการใดๆ อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน มุ่งปกป้องเด็ก เยาวชนกลุ่มคนเปราะบาง คุ้มครองสุขภาพของประชาชนและลดผลกระทบทางสังคม
No comments:
Post a Comment